ขั้นตอนการผลิตภาพยนตร์
หลัก 3P
หลัก 3P
Pre- production
-เอกสาร
-บุคคล/แหล่งข่าว
-สถานที่
3.จัดทำสคริปท์
- เริ่มจากวางประเด็น (Concept) => แก่นของเรื่อง (Theme) => เค้าโครงเรื่อง (Plot / Treatment)
=> (Outline Script / Synopsis) => บทโทรทัศน์ (Full Script) => บทภาพ (Story board)
PRODUCTION
POST PRODUCTION

อ้างอิง:http://oknation.nationtv.tv/blog/tanpisit/2013/07/17/entry-1: https://www.gotoknow.org/posts/124467
1. การวางแผน
2.หาข้อมูล เตรียมเนื้อหา
-เอกสาร
-บุคคล/แหล่งข่าว
-สถานที่
3.จัดทำสคริปท์
- เริ่มจากวางประเด็น (Concept) => แก่นของเรื่อง (Theme) => เค้าโครงเรื่อง (Plot / Treatment)
=> (Outline Script / Synopsis) => บทโทรทัศน์ (Full Script) => บทภาพ (Story board)
4.ประสานงาน
- ส่วนต่างๆ ทั้งภายใน (ทีมงาน) และภายนอก (สถานที่ / พิธีกรหรือผู้แสดง)
PRODUCTION
เมื่อถึงขั้นตอนนี้คือการนำแผนที่คิดไว้ มาปฏิบัติให้เกิดผลเป็นรูปธรรม แม้จะไม่ตรงตามแผนที่คิดไว้ทั้งหมด แต่ก็ต้องพยายามเดินตามแผนให้ได้มากที่สุด(ยืดหยุ่นในการปฏิบัติแต่ยืนหยัดในหลักการ) ในการถ่ายทำนั้นควรเลือกใช้อุปกรณ์ให้มีความเหมาะสมกับรูปแบบของรายการได้ดังนี้
การถ่ายทำในสถานที่(Studio)
มีข้อได้เปรียบคือสามารถ ควบคุมแสง เสียง และจัดตกแต่งฉากได้โดยไม่ต้องกังวลกับสภาพดินฟ้า
อากาศฝนตก อากาศร้อน หนาว สามารถควบคุมได้ทั้งหมด ถ่ายทำได้รวดเร็วเพราะมีกล้องมากกว่าหนึ่ง
ตัว (ส่วนมากจะมีไม่ต่ำกว่าสามกล้อง) จะทำให้ถ่ายทำได้อย่างต่อเนื่องจากหลายมุมมอง มีลำดับขั้นตอนการทำงานดังนี้
1 จัดทำฉาก ตกแต่งฉากตามที่ออกแบบไว้
2 จัดแสงให้ได้บรรยากาศตามบทและสภาพของฉาก
3 จัดติดตั้งไมโครโฟนตามจำนวนและจุดที่กำหนด
4 จัดวางตำแหน่งกล้องตามจุดที่กำหนดและทิศทางการเคลื่อนย้ายเปลี่ยน มุมและขนาดภาพ
(3 กล้อง)
5 ซักซ้อมกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ทั้งทีมด้านเทคนิค และผู้ที่มาร่วมในรายการให้มีความเข้าใจตรงกัน
ขั้นตอนเปิดรายการเป็นอย่างไรจะปิด รายการด้วยกล้องไหน(ซักซ้อมให้เหมือนกับการทำรายการจริง )
6 ลงมือถ่ายทำตามที่ได้ซักซ้อมไว้ ระหว่าง การบันทึกรายการ(ในกรณีที่ไม่ใช่รายการสด) หากไม่
ถูกต้องจะต้องสั่งหยุด(Cut)ทันที ต้อง ควบคุม คุณภาพ ระดับเสียง ความถูกต้องของ เนื้อหา
เมื่อถ่ายทำจบแล้วควร ถ่ายภาพเผื่อไว้แก้ไข Insert บ้างหรือเรียกว่าภาพ Cut a way
การถ่ายทำนอกสถานที่(Outdoor)ขั้นตอน
แบบใช้กล้องเดี่ยวเรียกว่าชุด ENG. (Electronic News Gathering)
ลักษณะที่ตัวกล้องกับเครื่องบันทึกเทปประกอบติดกัน ทั้งแบบที่ถอด แยกส่วนได้(Dock able)และ
แบบที่ประกอบเป็นชิ้นเดียวกัน(One-pieceหรือCamcorder)จึงเหมาะสำหรับงานถ่ายทำข่าว ถ่ายทำ
สารคดีที่ต้อง การความคล่องตัวสะดวกรวดเร็วในการทำงาน ใช้ทีมงานไม่มากเพียงสองถึงสามคนก็ได้
โดยมีขั้นตอนดังนี้
โดยมีขั้นตอนดังนี้
1) จัดเตรียมอุปกรณ์ กล้องและเครื่องบันทึกภาพ ขาตั้งกล้อง โคมไฟและขาตั้งโคม ไมโครโฟน เครื่องชาร์ทแบตเตอรี่และวัสดุ (ม้วนวิดีโอเทป แบตเตอรี่ ฯ)
2) ประสานงานด้านธุรการ การเงิน พัสดุ ฯ
3) นัดหมายทีมงาน
4) เดินทางตามกำหนดนัดหมาย
5) ถ่ายทำตามบทในจุดที่กำหนด
POST PRODUCTION
-เป็นกระบวนการสุดท้ายก่อนที่จะเผยแพร่สู่สาธารณชน เป็นนำเอาภาพที่ไปถ่ายทำ มาเรียบเรียงตัดต่อส่วนที่เกินหรือไม่ต้องการออก หรือเอาภาพที่ต้องการมาแทรก มีการใส่สีสันความน่าสนใจด้วยการใช้เอฟเฟ็คต่างๆ ใส่กราฟฟิค ต่างๆ ขึ้นชื่อ ใส่ดนตรี เสียงพากย์ ไตเติ้ล
โดยรูปแบบของการตัดต่อ จะมี 2 รูปแบบ คือ
Linar เป็นการตัดต่อ โดยการใช้สายสัญญาณ เป็นตัวส่งสัญญาณจากเครื่องเล่นเทป มายังเครื่องผสมสัญญาณภาพ (Mixer)และสร้างเอฟเฟคพิเศษ (SEG.) ก่อนที่จะออกไปสู่เครื่องบันทึกเทป เรียกโดยทั่วกันว่า A/B Roll
Non-linar เป็นการตัดต่อโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ โดยการนำเอาภาพที่ถ่ายทำมาลงในฮาร์ทดิสก์ แล้วใช้โปรแกรมทำการตัดต่อทำการตัดต่อ เมื่อเสร็จแล้วก็ถ่ายสัญญาณสู่เครื่องบันทึกเทป

อ้างอิง:http://oknation.nationtv.tv/blog/tanpisit/2013/07/17/entry-1: https://www.gotoknow.org/posts/124467